วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายแบบดาว


เครือข่ายแบบดาว (Star Network)



 

เครือข่ายแบบดาว (Star Network)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์

ที่เป็น จุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วย สลับสายกลาง
การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลาง
การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานี
ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

ที่มา  :  http://www.skn.ac.th/a_cd/syllabus/star.html

เครือข่ายแบบบัส



BUS network



เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วง
เวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำ
ให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัป
เครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสาย
เคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส  มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มี
คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก 
 

ที่มา :  http://www.skn.ac.th/a_cd/syllabus/bus.html
 

เครือข่ายแบบบัส (bus topology)  

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

รหัสโบคอต (Baudot Code)

รหัสและรูปแบบของรหัสที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูล(Transmission Code)


รหัสที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูล

ข้อมูลหรือข่าวสารโดยทั่วไปแล้วในเบื้องต้นส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ในทันที เช่น ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพต่าง ๆ ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบอนาลอก แต่เมื่อต้องการนำข้อมูลหรือข่าวสารเหล่านี้มาใช้กับคอมพิวเตอร์ จะต้องเปลี่ยนข้อมูล หรือข่าวสารเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้เสียก่อน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะรับรู้ข่าวสารที่เป็นแบบดิจิตอลเท่านั้น นั่นคือการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนข่าวสารแบบอนาลอกให้เป็นข่าวสารแบบดิจิตอลนั่นเอง
จากข้อความหรือข่าวสารต่าง ๆ ที่เรามองเห็นและเข้าใจได้ เมื่อเราป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยพิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์ ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปจะต้องมีการเข้ารหัสโดยผ่านตัวเข้ารหัส (Encoder) ให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งสัญญาณต่อไปได้เมื่อสัญญาณถูกส่งไปยังเครื่องรับ จากนั้นเครื่องรับก็จะตีความสัญญาณที่ส่งมาและผ่านตัวถอดรหัส (Decodes) ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบที่เราเข้าใจได้หรืออยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับเก็บในคอมพิวเตอร์ก็ได้อีกครั้งหนึ่ง



รูปแบบของรหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล

รหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของไบนารี (Binary) หรือเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 กับเลข 1 โดยใช้รหัสที่เป็นเลข 0 แทนการไม่มีสัญญาณไฟและเลข 1 แทนการมีสัญญาณไฟ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของไฟฟ้าที่มีลักษณะมีไฟและไม่มีไฟอยู่ตลอดเวลา เรียกรหัสที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 ว่าบิต (Binary Digit) แต่เนื่องจากข้อมูลหรือข่าวสารทั่วไปประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์มากมาย ถ้าจะใช้ 0 กับ 1 เป็นรหัสแทนแล้วก็คงจะได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น เช่น 0 แทนตัว A และ 1 แทนด้วย B
ดังนั้นการกำหนดรหัสจึงได้นำกลุ่มบิทมาใช้ เช่น 6 บิท, 7 บิท หรือ 8 บิทแทนตัวอักษร 1 ตัว ซึ่งจะสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด รหัสมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้กับอักขระภาษาอังกฤษซึ่งมีหลายมาตรฐาน เช่น รหัสโบดอต (Baudot code), รหัสเอบซีดิก (EBCDIC) และรหัสแอสกี (ASCll Code)

รหัสโบคอต (Baudot Code)

รหัสโบคอตเป็นรหัสที่ใช้กับระบบโทรเลข และเทเล็กซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานของ CCITT หมายเลข 2 เป็นรหัสขนาด 5 บิท สามารถมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 25 หรือเท่ากับ 32 รูปแบบ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนอักขระทั้งหมด จึงมีการเพิ่มอักขระพิเศษขึ้นอีก 2 ตัว คือ 11111 หรือ LS (Letter Shift Character) เพื่อเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็ก (Lower case) และ 11011 หรือ FS(Figured Shift Character) สำหรับเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทำให้มีรหัสเพิ่มขึ้นอีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 ตัว จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว อีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 เดิม จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว เนื่องจากรหัสโบคอตมีขนาด 5 บิท ซึ่งไม่มีบิทตรวจสอบจึงไม่นิยมนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์การส่งสัญญาณการสื่อสารถูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ แบบดิจิตอลและแบบอนาลอก ซึ่งการส่งสัญญาณแบบอนาลอกส่วนใหญ่จะเป้นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์ ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลนั้น ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันโดยใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการถ่ายทอดข้อมูลซึ่งกันและกัน



ตัวอย่าง

ATHAPON  INTHARARUJIKUN  =  11000 00001 00101  11000 01101 00011 00110  00100 01100 00110 00001 00101 11000 01010 11000 01010 11100 11010 01100 11110 11100 00110
 

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเข้าหัว RJ45

อุปกรณ์ที่ใช้


สาย UTP หรือที่เราเรียกสั้น ๆ กันว่า สาย LAN  และ หัว RJ-45

 
Crimping หรือ คีมแค้มสาย หรือคีมเข้าหัว RJ-45 และ คัดเตอร์เพื่อปลอกสาย UTP (สาย LAN)
  
Modular Plug boots หรือ Boot ครอบหัว RJ-45 และสาย LAN สำเร็จรูป ได้ดูหน้าตาของอุปกรณ์กันไป ต่อไปเรามาดูวิธีการเรียงสายในแต่ละแบบ ถ้าต้องการต่อจาก HUB ไปที่เครื่องคอมฯ
เราจะใช้ TIA/EIA568A หรือ B ก็ได้ครับเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่ง แต่ถ้าเราต้องการเชื่อมต่อเครื่องคอมฯ 2 เครื่องเข้าด้วยกันหรือต่อจากเครื่องคอมฯเข้า Rounter ก็ไปดูในส่วนของ CrossOver
หมายเหตุ อุปกรณ์สมัยใหม่เราอาจจะไม่ต้องใช้แบบ CrossOver เพราะมันจะทำการ CrossOver ให้เราเองเลยอัตโนมัติถึงแม้เราจะใช้สาย LAN ที่เข้าสายแบบธรรมดาก็ตาม

การจัดเรียงสายสัญญาณจาก ซ้าย —> ไปขวา นะครับ
การเรียงสาย UTP แบบธรรมดาแบบ A (แบบไขว้) ตามมาตราฐาน TIA/EIA 568A (10/100)


การเรียงสาย UTP แบบธรรมดา แบบ B (แบบตรง) ตามมาตราฐาน TIA/EIA 568B (10/100)

การเรียงสาย UTP แบบ CrossOver แบบ 10/100

ขั้นตอนการเข้าสาย LAN
1. ใช้มีดปอกสายสัญญาณที่เป็นฉนวนหุ้มด้านนอกออกให้เหลือแต่ สายบิดเกลียวที่อยู่ด้านใน 8 เส้นแล้วก็จะเห็นด้ายสีขาว ๆ อยู่ให้ตัดทิ้งได้ โดยการปอกสายสัญญาณนั้นให้ปอกออกไว้ยาว ๆ หน่อยก็ได้ครับประมาณสัก 1 เซ็นครึ่งก็น่าจะได้นะตามตัวอย่างดังรูป


2. ใส่ Modular Plug boots เข้ากับสาย UTP ด้านที่กำลังจะต่อกับหัว RJ-45 ไว้ก่อนเลยดังรูป


3. ปอกสายเสร็จแล้วก็ให้ทำการแยกสายทั้ง 4 คู่ที่บิดกันอยู่ออกเป็นคู่ ๆ ก่อนโดยที่ให้แยกคู่ต่าง ๆ ตามลำดับต่อไปนี้

A. ส้ม-ขาวส้ม —> เขียว-ขาวเขียว —> น้ำเงิน-ขาวน้ำเงิน —> น้ำตาล-ขาวน้ำตาล

จากนั้นจึงค่อยมาทำการแยกแต่ละคู่ออกมาเป็นเส้น โดยให้ไล่สีต่าง ๆ เรียงกันตามสูตรการเรียงสาย UTP ที่ผมได้เกริ่นไปแล้วในตอนแรก ๆ ดังนี้ 
B. ขาวส้ม —> ส้ม —> ขาวเขียว —> น้ำเงิน —> ขาวน้ำเงิน —> เขียว —> ขาวน้ำตาล —> น้ำตาล


4. หลังจากนั้นให้ใช้คีมตัดสายสัญญาณที่เรียงกันอยู่นี้ให้มีระบบปลายสายที่เท่ากันทุกเส้น โดยให้เหลือปลายสายยาวออกมาพอสมควร จากนั้นก็ให้เสียบเข้าไปในหัว RJ-45 ที่เตรียมมา โดยให้หันหัว RJ-45 ดังรูปจากนั้นค่อย ๆ ยัดสายที่ตัดแล้วเข้าไป โดยพยายามยัดปลายของสาย UTP เข้าไปให้สุดจนชนปลายของช่องว่าในหัว RJ-45 ก่อนยัดต้องดูด้วยนะครับว่าสายที่เราเรียงไว้มันสลับที่กันหรือเปล่า


5. จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเชื่อมต่อสายสัญญาณในช่วงนี้ก็คือต้องยัดฉนวนหุ้มที่หุ้มสาย UTP นี้เข้าไปในหัว RJ-45 ด้วย โดยพยายามยัดเข้าไปให้ได้ลึกที่สุดแล้วกัน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการหักงอของสายง่ายและเป็นการยึดสายให้ติดกับหัว RJ-45 ไม่ให้หลุด โดยให้ยัดเข้าไปให้ได้ดังรูป


6. นำเข้าไปใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของ RJ-45 ในคีมที่จะใช้แค้มหัว หรือ Crimping Tool ให้ลงล็อกของคีมพอดี จากนั้นก็ให้ทำการกดย้ำสายให้แน่น เพื่อให้ Pin ทีอยู่ในหัว RJ-45 นั้นสัมผัสกับสายทองแดงที่ใส่เข้าไป จากรูปผมใช้คีมแค้มหัว RJ-45 สีดำ ไม่ต้องแปลกใจนะครับเพราะแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะหน้าตาแตกต่างกันออกไปครับ แต่การใช้งานเหมือนกันทุกประการ


7. เป็นอันเสร็จครับ และสายอีกด้านก็ทำตามขั้นตอนเดิม จากขั้นตอนแรก ถึงขั้นตอนสุดท้ายเหมือนเดิม อ้อ อย่าลืมเอา Boot ครอบหัว RJ-45 ใส่ก่อนนะครับ เพราะถ้าลืมก็เซ็งเลยครับ อีกข้างมี Boot แต่อีกข้างไม่มี อืม ก็เท่ห์ไปอีกแบบเน้อ  !!!

ที่มา : http://liblog.dpu.ac.th/tit/

สายแลน

สายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Switch หรือ HUB (แต่เราสามารถเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน)? สายแลนมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทจะมีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณแตกต่างกันออกไป? สำหรับปัจจุบันสายแลนที่นิยมใช้กันมากคือ?UTP (UNSHIELD TWISTED PAIR) คือ สายตีเกลียวที่ไม่มีตัวป้องกัน??ส่วนหัวที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายแลนเรียกว่า RJ45

ประเภทของสาย UTP

  • UTP CAT5 คือ สายแลน ที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps? (ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว)
  • UTP CAT5e คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gpbs
  • UTP CAT6 คือ?สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 250MHz
  • UTP CAT7 คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 600MHz
ทิปการเลือกซื้อ การเลือกสายแลนเพื่อนำมาใช้ แนะนำให้เลือกควบคู่กับอุปกรณ์ Switch หรือ HUB ด้วย?(Switch ส่วนใหญ่ในปัจุจบันมีความเร็ว 10/100/1000 Mbps)?เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้เชื่อมต่อกันตลอดเวลา สำหรับประเภทของสายแลนขั้นต่ำทีเราเลือกซื้อคือ UTP CAT5e หรือ UTP CAT6? ส่วนสาย UTP CAT7 ยังไม่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.it-guides.com/